ห้องค้นคว้าหนังสือ

ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) 
             ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ
D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน
เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) 
การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวด
หมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย 
                                        การแบ่งหมวดหมู่ครั้งที่  ๑ (หมวดหมู่ใหญ่)
            เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ ๑ โดยแบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ ๑๐ หมวด
โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
                                                
            ๐๐๐   เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)   วิชาความรู้ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดใดๆ        
                                                  
            ๑๐๐   ปรัชญา (Philosophy)  เป็นวิชาที่มนุษย์ต้องการทราบว่า  ตนคือใคร  เกิดมาทำไม
                                                
            ๒๐๐   ศาสนา(Religion)  วิชาที่มนุษย์ต้องการค้นหาความจริงที่ทำให้เกิดทุกข์ และความ
                       หลุดพ้นจากความทุกข์
                                                
            ๓๐๐   สังคมศาสตร์ (Social sciences)  วิชาที่กล่าวถึงความสำพันธ์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์
                       มาอยู่รวมกันเป็นสังคมขึ้นมา
                                                
            ๔๐๐   ภาษาศาสตร์ (Language)  วิชาที่ช่วยในการสื่อสาร ทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน
                                                 
            ๕๐๐  วิทยาศาสตร์ (Science)   วิชาที่มนุษย์ต้องการทราบความจริงของธรรมชาติ
                                                 
            ๖๐๐  วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)   วิชาที่มนุษย์เอาความรู้เกี่ยวกับ
                       ความจริงของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน
                                                
            ๗๐๐   ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)    วิชาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงใจของตน
                                                                
            ๘๐๐  วรรณคดี (Literature)   วิชาที่มนุษย์ต้องการแสดงความคิด ความประทับใจไว้ด้วย
                       สัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษร 
                                              
            ๙๐๐ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)   วิชาที่ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                     ในยุกต์สมัยต่างๆ  เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ
                        
            นอกจากนี้ยังมีหนังสืออ้างอิง (อ.)  นอกจากนี้ในห้องสมุด  ยังกำหนให้มีหนังสืออีกหมวดหนึ่ง  เรียกว่า  'อ้างอิง' หนังสือประเภทนี้  ไว้ใช้ในการค้นคว้า อ้างอิง  ไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด